เกริ่นนำโดยกระปุกดอทคอม
ขอขอบคุณข้อมูลและภาพประกอบจาก
คุณอนันต์ แก้วร่วมวงศ์, คุณ ทองกาญจนา, คุณสะใภ้อินเตอร์ และ
คุณกรรมกร
น้ำทะลัก! คันกั้นน้ำแตก! ตลิ่งพัง! น้ำจ่อท่วม ...เวลานี้คงจะต้องติดตามข่าวสารอุทกภัยกันนาทีต่อนาที เพราะสถานการณ์น้ำดูจะเลวร้ายขยายวงกว้างมากขึ้นเรื่อย ๆ สำหรับใคร ที่บ้านอยู่ในพื้นที่เสี่ยงภัยน้ำท่วม มวลน้ำยังมาไม่ถึง แต่ส่อเค้าหรือเริ่มมีน้ำส่งสัญญาณมาบ้างแล้วนั้น คงจะนิ่งนอนใจไม่ได้อีกต่อไป เพราะถ้าช้า...ไม่แน่ว่า บ้านของเราอาจจมน้ำภายในพริบตา!!!
สิ่งที่ต้องทำในเวลานี้สำหรับผู้คนในพื้นที่เสี่ยงภัย นอกจากการเตรียมอาหาร และเก็บข้าวของเตรียมพร้อมอพยพทุกเมื่อแล้ว หากยังพอมีเวลาเราสามารถป้องกันน้ำท่วมบ้านได้ ซึ่งวันนี้เรามีวิธีป้องกันไม่ให้น้ำท่วมบ้านอย่างได้ผลจาก
คุณ ทองกาญจนา ผู้ที่เคยผ่านประสบการณ์น้ำท่วมบ้านในจังหวัดเชียงใหม่
และอีกแนวคิดดี ๆ ในการป้องกันน้ำท่วมบ้านโดยไม่ใช้กระสอบทรายจาก
คุณอนันต์ แก้วร่วมวงศ์ มาบอกต่อ รวมถึงไอเดียเจ๋ง ๆ ของ
คุณสะใภ้อินเตอร์ ที่ต้องประสบปัญหาน้ำท่วมมาตลอด 4 ปี แต่ปีนี้มีวิธีป้องกัน และน้ำไม่ท่วมเข้าบ้าน นอกจากนี้ ยังมีวิธีทำประตูกั้นน้ำแบบถาวรของ
คุณกรรมกร ซึ่งสามารถทำเองได้...มาฝากกันจ้า
นอกจากนั้นแล้ว
คุณ ทองกาญจนา ยังได้แนะนำเพิ่มเติมสำหรับ วิธีทำบานเหล็กกั้นน้ำไม่ให้เข้าท่วมบ้าน มาฝากกันเพิ่มเติมอีกด้วย ...ไปดูวิธีป้องกันน้ำท่วมเข้าบ้านแบบต่าง ๆ กันเลย...
วิธีทำบานเหล็กกั้นน้ำไม่ให้เข้าท่วมบ้าน by คุณทองกาญจนา
1. ส่วนที่ติดตั้งไว้ถาวรบริเวณประตูรั้วบ้าน
- ทำกรอบรางเหล็กติดไว้ที่เสารั้วทั้งสองด้าน และฝังไว้ที่พื้น
- รางเหล็กนี้มีขนาดกว้าง 2 นิ้ว ติดตั้งไว้ถาวร บริเวณขอบที่ติดกับเสาประตูรั้วพ่นด้วยซิลิโคน
- ตรงกลางรางเหล็กที่ฝังไว้ที่พื้นจะเชื่อมด้วยเหล็กเส้นเพื่อใช้เสียบเสากลาง
- และยังเจาะรูที่พื้น 2 รู เพื่อเสียบเสาค้ำยัน
2. ส่วนที่ถอดออกได้
- ประกอบด้วย บานเหล็ก 2 บาน, เสากลาง และ เสาค้ำยัน
- เสากลางเป็นรางเหล็กที่มีขนาดความกว้างเท่ากับที่ติดตั้งไว้ที่ประตูรั้ว นำด้านหลังมาเชื่อมให้ติดกัน และที่โคนเสาทำบากตามภาพ เพื่อให้เสียบลงไปบนรางเหล็กในภาพที่ 3 ได้
- เสียบลงไปแล้วจะมีลักษณะนี้
3. การติดตั้งใช้งาน
-เสียบแผ่นบานเหล็กแผ่นแรกเข้าไปในกรอบให้ชิดข้างเสารั้วด้านใดด้านหนึ่ง
- ใช้ดินน้ำมันอุดตามรอยขอบของบานเหล็กกับกรอบราง ทั้งบริเวณเสารั้วและที่พื้น หรือจะใช้ซิลิโคนยิงตามขอบก็ได้ เพื่อกันน้ำซึมเข้าไป (แต่กันไม่ได้ 100% ต้องใช้เครื่องสูบน้ำหรือไดรโว่ ช่วย)
- เสียบเสากลาง ประกบเข้าไปที่ด้านข้างของบานเหล็กด้านขวามือ ติดตั้งเสาค้ำยัน ยึดกับบานเหล็กด้วยสกรูและน๊อต
- หลังจากนั้นก็ยกแผ่นบานเหล็กอีกแผ่นหนึ่ง ค่อย ๆ สวมลงไปในกรอบรางเหล็ก และติดตั้งเสาค้ำยันที่เหลือ แต่ถ้าต้องประกอบด้วยตนเองเพียงคนเดียว ควรยกแผ่นบานเหล็กอีกแผ่นหนึ่งวางเข้าไปในรางเหล็กก่อน แล้วจึงนำเสากลางเสียบลงไปจากด้านบน ในระหว่างรอยต่อของแผ่นเหล็กแต่ละบาน จะเบาแรงกว่ากันมาก แล้วก็อย่าลืมอุดดินน้ำมัน(หรือพ่นซิลิโคน) ในจุดรอยต่อให้ทั่วถึงด้วยนะ
- ประตูรั้วบ้านของเราก็พร้อมที่จะป้องกันน้ำเข้าท่วมบริเวณบ้านแล้ว
ประตูกั้นน้ำแบบถาวร (ในแบบที่เหมาะสมกับบางสถานที่) by คุณกรรมกร
ในช่วงที่ช่างปูนหายาก แถมทรายยังขาดตลาดอีก คุณกรรมกร จึงไม่อยากรอช้าตัดสินใจทำประตูกั้นน้ำแบบถาวร (ในแบบที่เหมาะสมกับบางสถานที่) ซึ่งถึงแม้ตอนนี้ที่บ้านน้ำยังไม่ท่วม แต่ต้องเตรียมการไว้แบบถาวรน่าจะดีกว่า โดย คุณกรรมกร เรียกช่างเหล็ก (พับ ตัด เจาะ) มาดูหน้างาน จากนั้นก็บอกรูปแบบและวิธีใช้งาน ส่วนรายละเอียดย่อยต่าง ๆ เช่น เรื่องซีลรอยรั่ว คุณกรรมกร ขอจัดการเอง ซึ่งทั้งหมดใช้เวลาทำ 2 วัน (ตัด-พับ 1 วันครึ่ง / ทดลองติดตั้งครึ่งวัน)
เริ่มต้นจากวัดความกว้างของประตูและความสูงของแผ่นกั้นตามต้องการ จากนั้นสั่งพับเหล็กแผ่น ความกว้างน้อยกว่าขนาดจริงของประตู 1 เซนติเมตร เผื่อยกเข้าออกจะได้ไม่แน่นเกินไป เจาะรูตรงตามรูที่เสาเหล็กฉาก และตัดเสาเหล็กฉากตามความสูงของแผ่นกั้น เจาะรูสำหรับยึดสกรูด้านที่แนบกับผนังปูน เจาะรูอีกด้านของเหล็กฉากเพื่อใส่น็อตยึดแผ่นเหล็ก ตะไบรูน็อตเผื่อให้กว้าง (สูง) ขึ้นเล็กน้อยเผื่อใส่ตัวซีล (โฟมยาง)
ติดตั้งเสาเหล็กฉากทั้ง 2 ด้าน ใช้สกรูตัวไม่ต้องใหญ่มาก (ถอดเก็บง่าย) เว้นระยะให้เหมาะสม พร้อมยิงซิลิโคนด้านนอกให้เรียบร้อย
หน้าตาแผ่นเหล็ก(เจาะรูน็อต)
ติดกาว 2 หน้าแบบบาง 3 ด้าน ด้านล่างและด้านข้าง 2 ด้านที่แผ่นเหล็ก (สำหรับแผ่นที่ต้องต่อกัน 2 ชั้น ติดโฟมยางด้านบนด้วย) ตัดโฟมยางเป็นเส้นตามขอบ ติดแนบลงไป
ทดสอบการติดตั้ง ใส่น็อตยึดให้เรียบร้อย (หัวน็อตควรรองด้วยแหวนยาง) แผ่นยกประกบกับเสาได้ง่ายกว่าเสียบแบบรางหรือร่อง น้ำหนัก (ผู้หญิง) ยกได้สบาย ติดตั้งเองก็ง่ายครับ ใส่น็อตหรือขันน็อตเป็นก็ติดตั้งได้เอง
สามารถถอดเก็บได้เพียงถอดน็อตที่แผ่น ถอดสกรูที่เสาและแซะซิลิโคนออก หรือจะเก็บเฉพาะแผ่นแล้วติดตั้งเสาทิ้งไว้ ก็ไม่น่าเกลียด
ทั้ง นี้ ฝากไว้เป็นทางเลือกสำหรับบ้านที่มีประตูหรือกำแพงแบบนี้ครับ อาจจะเสียงบประมาณมากไปนิด แต่ก็แข็งแรง ทนทาน และเก็บไว้ใช้ได้ตลอดไป หรือจนกว่าจะผุพัง อย่างไรก็ตาม ไม่รับประกัน 100 เปอร์เซ็นต์ว่าจะไม่มีน้ำ หยดน้ำ เล็ดลอดเข้ามา เพียงหวังว่าจะเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่จะพอบรรเทาความเดือดร้อนของเพื่อน ๆ พี่น้องเราได้ครับ
วิธีป้องกันน้ำท่วมให้อยู่หมัด หลังน้ำท่วมมา 4 ปี by คุณสะใภ้อินเตอร์
คุณสะใภ้อินเตอร์ผู้ที่ผ่านประสบการณ์น้ำท่วมมาถึง 4 ครั้ง น้ำได้ไหลทะลักเข้าไปในตัวบ้านจนข้างของเสียหายมาหลายครั้ง วิธีป้องกันน้ำท่วมหลายต่อหลายวิธี คุณสะใภ้อินเตอร์ก็ได้ลองทำมาหมด ไม่ว่าจะเป็นตั้งกระสอบทราย หรือดินน้ำมัน แต่วิธีเหล่านั้นก็ไม่สามารถป้องกันน้ำไม่ให้ไหลทะลักเข้ามาได้ ...
มาวันนี้ จากประสบการณ์ 4 ปีที่เคยผ่านน้ำท่วมมา คุณสะใภ้อินเตอร์ จึงมีวิธีป้องกันน้ำท่วมอย่างอยู่หมัดมาฝากกันค่ะ
สระว่ายน้ำก่อนถูกน้ำท่วมเมื่อปีที่แล้ว 2553
สระว่ายน้ำก่อนถูกน้ำท่วมเมื่อปีที่แล้ว 2553
สระว่ายน้ำก่อนถูกน้ำท่วมเมื่อปีที่แล้ว 2553
สภาพน้ำตอนถูกน้ำท่วมเมื่อปีที่แล้ว 2553
สภาพน้ำตอนถูกน้ำท่วมเมื่อปีที่แล้ว 2553
ปีนี้เลยกั้นเหล็กให้สูงขึ้น
และหาวิธียึดให้ติดกำแพงเพื่อป้องกันแรงกระแทกของน้ำจากรถที่วิ่งผ่านโดยจะใช้วิธีทำเป็นเหล็กยันไว้
แล้วยึดด้วยกลอนสองชั้น
วิธีเข้าบ้านต้องเข้าแบบนี้ (อาจจะไม่เหมาะกับผู้สูงอายุ)
ภายในบ้านในน้ำแผ่นพลาสติกอันซิลิโคนตามร่อง
จะเห็นได้ว่า น้ำไม่สามารถเข้าบ้านได้
อย่าลืมอัดซิลิโคนที่ประตูหลังด้วย
ภาพด้านซ้ายคือ ภาพรถที่ไม่ได้ป้องกันน้ำท่วม ส่วนภาพด้านขวาเลยหาคันยก และยกให้สูงขึ้น
การอัดซิลิโคนตามร่อง
ภาพน้ำท่วมเมื่อปีก่อน ๆ ใช้ดินน้ำมันอุด แต่ไม่สามารถกั้นน้ำได้
ส่วนภาพนี้ใช้กระสอบทราย ซึ่งก็มีน้ำไหลซึมตลอดเวลา
วิธีป้องกันไม่ให้น้ำท่วมบ้านอย่างได้ผล by คุณทองกาญจนา
เตรียมการก่อน
ประสบการณ์ จากน้ำท่วมเมื่อครั้งที่แล้ว พบว่าถึงแม้จะกั้นกระสอบทรายไว้ที่ประตูรั้ว แต่ก็ไม่สามารถกั้นน้ำเข้าบ้านได้ เพราะ (1) บริเวณสนามหญ้าและลานอิฐบล็อกภายในบริเวณบ้านจะมีน้ำปุดทะลุพื้นดินขึ้นมา (2) กระสอบทรายไม่มีความมั่นคงแข็งแรงเพียงพอ เมื่อถูกคลื่นที่เกิดจากรถยนต์วิ่งฝ่าเข้ามาในถนนที่น้ำท่วม จะมีแรงดันมหาศาลทำให้กำแพงกระสอบทรายพัง และน้ำไหลเข้าบริเวณบ้านได้ในที่สุด
จากประสบการณ์ดังกล่าวผมได้เตรียมการไว้หลังจากน้ำลดครั้งที่แล้ว ดังนี้
(1) ปรับปรุงพื้นรอบ ๆ บริเวณบ้านใหม่ โดยทำพื้นให้เรียบและเทพื้นด้วยคอนกรีตซีแพ็คลงไปจนเต็มชิดรั้วทุกด้าน
(2) ทำบานเหล็กสำหรับกั้นน้ำพร้อมอุปกรณ์ติดตั้ง โดยทำกรอบรางเหล็กสำหรับสวม ติดถาวรไว้ที่ประตูรั้วบ้านทั้งซ้ายและขวา ส่วนบานเหล็กและเสาค้ำยันถอดออกได้ เพื่อให้สามารถใช้ประตูบ้านได้ในยามปกติ
(3) ซื้อเครื่องสูบน้ำชนิดแช่ขนาดเล็กที่เรียกว่า ไดรโว่ ราคาประมาณ 1,500-2,000 บาท เครื่องสูบน้ำชนิดนี้จะขาดตลาดทันทีที่เกิดน้ำท่วม จึงต้องซื้อเก็บไว้ล่วงหน้า แล้วก็ไม่ลืมสายไฟพร้อมปลั๊กที่จะใช้ต่อพ่วงมาจากตัวบ้านจนถึงประตูรั้ว
(4) ดินน้ำมันจำนวนหนึ่ง ใช้สำหรับอุดในช่องว่างที่ประกอบบานเหล็กกั้นน้ำเข้ากับประตูรั้วบ้าน
น้ำมาแล้ว
เสียง ประกาศเตือนภัยจาก อบต. ตั้งแต่เช้า แจ้งว่าน้ำคงจะเข้าท่วมหมู่บ้านในช่วงบ่าย ขอให้ประชาชนเตรียมป้องกันทรัพย์สินของตนเอง ผมนำรถยนต์ออกจากบ้านไปจอดไว้ยังที่ปลอดภัยนอกหมู่บ้าน กลับเข้ามาก็เริ่มติดตั้งบานเหล็กเข้ากับประตูรั้วบ้าน ติดตั้งเสาค้ำยัน ใช้ดินน้ำมันอุดตามรอยต่อระหว่างบานกับกรอบรางเหล็ก นำเครื่องสูบน้ำไดรโว่มาวางไว้ใกล้ประตูรั้วในตำแหน่งที่คาดว่าน้ำจะซึมเข้า มาและท่วมขังอยู่ ต่อสายไฟพร้อมใช้งาน แล้วรอน้ำที่กำลังเริ่มไหลเข้ามาในหมู่บ้านอย่างใจจดใจจ่อ
เวลา ประมาณ 16.00 น. น้ำท่วมถนนภายในหมู่บ้านทุกถนนแล้ว มีน้ำซึมผ่านบานเหล็กที่ประตูรั้วเข้ามาในบ้านของผมปริมาณหนึ่ง แต่เมื่อเปิดเครื่องสูบน้ำก็สามารถควบคุมระดับน้ำไม่ให้สูงจนเกิดความเสีย หายได้ เมื่อน้ำในถนนลดลง ผมไม่ต้องลำบากในการทำความสะอาดบริเวณบ้าน ที่มีดินโคลนตกค้างจากน้ำท่วมขัง เหมือนน้ำท่วมเมื่อครั้งก่อนอีกแล้ว
ภาพบรรยากาศ
ติดตั้งบานเหล็กเข้ากับเสาประตูรั้วบ้าน พร้อมติดตั้งเสาค้ำยัน
เข้า-ออก จากบ้านต้องใช้เก้าอี้บันไดตัวนี้ สังเกตระดับน้ำภายนอกบ้านเริ่มสูงมากแล้ว
ขณะที่ถนนด้าน นอกระดับน้ำสูงถึง 60 ซม. แต่ภายในบ้านมีน้ำรั่วซึมเข้ามาเพียงเท่านี้ และเมื่อเปิดเครื่องสูบน้ำ น้ำก็จะแห้งภายใน 5 นาที
ลุยน้ำออกไปถ่ายจากนอกบ้านเข้ามา สภาพประตูกั้นน้ำจะมีลักษณะนี้
บ้านข้าง ๆ ก็ติดตั้งบานประตูกั้นน้ำเช่นเดียวกัน
อีกภาพหนึ่ง
หวัง ว่าบันทึกนี้จะเป็นประโยชน์สำหรับท่านที่มีบ้านในหมู่บ้านจัดสรร ที่น้ำเคยท่วมแล้ว จะได้เป็นแนวทางในการป้องกันความเสียหายที่จะเกิดขึ้นกับบ้านแสนรักในครั้ง ต่อไปได้บ้างตามสมควรครับ
วิธีป้องกันน้ำเข้าบ้านง่าย ๆ แบบไม่ใช้กระสอบทราย by คุณอนันต์
1. ศูนย์รับบริจาคสิ่งของโคราช
- หากต้องการบริจาคสิ่งของ ให้ไปที่ศาลากลาง จังหวัดนครราชสีมานะคะ
- ต้องการบริจาคเงิน ติดต่อได้ที่เบอร์โทร 044-259-996-8, 044-259-993-4 หรือโอนมาได้ที่ ธนาคารกรุงไทย สาขานครราชสีมา บัญชีออมทรัพย์ ชื่อบัญชี "เงินช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย จ.นครราชสีมา" เลขบัญชี 301-0-86149-4
2. ศูนย์อำนวยการแก้ไขปัญหาน้ำท่วม จังหวัดนครราชสีมา
- สามารถสอบถามและขอความช่วยเหลือได้ที่ หมายเลขโทรศัพท์ 044-342652-4 และ 044-342570-7
3. โรงพยาบาลมหาราช จ.นครราชสีมา
- สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ หมายเลขโทรศัพท์ 086-251-2188 ตลอด 24 ชั่วโมง
- ทางโรงพยาบาลมีความต้องการน้ำดื่มบรรจุขวด นมกล่อง และอาหารแห้ง รวมทั้งของใช้เบ็ดเตล็ดผู้ป่วย เช่น ผ้าอ้อมสำเร็จรูปสำหรับเด็กและผู้ใหญ่ ผ้าอนามัย เป็นจำนวนมาก
- สามารถบริจาคเงินไปได้ที่ ธนาคารกรุงไทย สาขานครราชสีมา บัญชีออมทรัพย์ ชื่อบัญชี "โรงพยาบาลมหาราช นครราชสีมา" เลขที่บัญชี 301-3-40176-1
4. กรมอุตุนิยมวิทยา
- สายด่วนกรมอุตุนิยมวิทยา โทร. 1182
- สถานีวิทยุกระจายเสียงกรมอุตุนิยมวิทยา กรุงเทพมหานคร (AM 1287 KHz) โทร. 02-383-9003-4, 02-399-4394
- สถานีวิทยุกระจายเสียงกรมอุตุนิยมวิทยา จ.นครราชสีมา (FM 94.25 MHz)โทร. 044-255-252
- สถานีวิทยุกระจายเสียงกรมอุตุนิยมวิทยา จ.พิษณุโลก (FM 104.25 MHz) โทร. 055-284-328-9
- สถานีวิทยุกระจายเสียงกรมอุตุนิยมวิทยา จ.ระยอง (FM 105.25 MHz) โทร. 038-655-075, 038-655-477
- สถานีวิทยุกระจายเสียงกรมอุตุนิยมวิทยา จ.ภูเก็ต (FM 107.25 MHz) โทร. 076-216-549
- สถานีวิทยุกระจายเสียงกรมอุตุนิยมวิทยา จ.ชุมพร (FM 94.25 MHz) โทร. 077-511-421
5. กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
- สายด่วนนิรภัย หมายเลขโทรศัพท์ 1784
- ขบวนช่วยเหลือน้ำท่วมออกเรื่อย ๆ ขอรับบริจาคเน้นไปที่ น้ำ, ยาแก้ไข้, เสื้อ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ หมายเลขโทรศัพท์ 02-241-7450-6 แผนที่คลิกที่นี่
6. กรุงเทพมหานคร
- สามารถไปบริจาคสิ่งของได้ที่ ศูนย์ช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย อาคารศาลาว่าการกทม.1 (เสาชิงช้า), ศาลาว่าการกทม.2(ดินแดง) และที่สำนักงานเขตทุกแห่งทั่วกรุงเทพฯ 50 แห่ง สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ หมายเลขโทรศัพท์ 02-354-6858
7. สภากาชาดไทย
- สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ หมายเลขโทรศัพท์ 02-251-7853-6 , 02-251-7614-5 ต่อ 1603
- สามารถบริจาคเงินไปได้ที่ ธนาคารไทยพาณิชย์ สาขาสภากาชาดไทย บัญชีออมทรัพย์ ชื่อบัญชี "สภากาชาด
ไทยช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย" เลขที่บัญชี 045-3-04190-6 แล้วแฟ็กซ์ใบนำฝากพร้อมเขียนชื่อและที่อยู่มาที่ สำนักงาน
การคลัง สภากาชาดไทย ถึงหัวหน้าฝ่ายการเงิน หมายเลขโทรสาร 02-250-0120 สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ หมาย
เลขโทรศัพท์ 02-256-4066-8
- สามารถไปบริจาคสิ่งของได้ที่ สำนักงานบรรเทาทุกข์และประชานามัยพิทักษ์ สภากาชาดไทย 1871 ถนนอังรีดูนังต์ เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330 หากมาจากถนนพระราม 4 ให้เลี้ยวตรงแยกอังรีดูนังต์ เมื่อเข้าสู่ถนนอังรีดูนังต์ให้ชิดซ้ายทันที เนื่องจากอยู่ต้นๆถนน (ทางด้านพระราม 4) สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ 02-251-7853-6 ต่อ 1603 หรือ 1102 หากเป็นวันหยุดราชการ ต่อ 1302 , 02-251-7614-5 หมายเลขโทรสาร 02-252-7976
- สามารถลงทะเบียนร่วมเป็นอาสาสมัครช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วมได้ที่ http://www.rtrc.in.th/ หรือ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ หมายเลขโทรศัพท์ 02-251-7853-6 , 02-251-7614-5 ต่อ 1603 มาช่วยแพ็คชุดธารน้ำใจ หรือช่วยขนพวกข้าวสารอาหารแห้งขึ้นรถบรรทุก แต่มีเงื่อนไขอยู่ว่า ต้องการผู้ที่มีสุขภาพแข็งแรง และสามารถยกของหนักได้ (เพราะงานค่อนข้างหนัก และต้องยกของหนัก) เป็นผู้ชายก็จะดีมาก หากเราต้องการกำลังพล จะโทรศัพท์ไปติดต่อว่าจะสะดวกมาในวันที่เราแพ็คของหรือไม่ เป็นราย ๆ ไป
รายการชุดธารน้ำใจสภากาชาดไทย ช่วยผู้ประสบภัย (สภากาชาดไทย) 1 ชุด ประกอบด้วย
1. บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป จำนวน 30 ซอง
2. ปลากระป๋อง จำนวน 6 กระป๋อง
3. ผักกาดดอง จำนวน 6 กระป๋อง
4. ปลาราดพริก จำนวน 6 กระป๋อง
5. ข้าวหอมมะลิกระป๋อง 150 กรัม จำนวน 6 กระป๋อง
6. น้ำพริก จำนวน 2 กระปุก
7. ไก่ทอดกระเทียม จำนวน 2 กระป๋อง
8. เครื่องดื่มช็อคโกแลตผง 3 in 1 (1X6 ซอง) จำนวน 2 ถุง
9. ข้าวสาร (5 กิโลกรัม) จำนวน 1 ถุง
10. โลชั่นกันยุง จำนวน 1 ขวด
11. เทียนไข (1X2 เล่ม) จำนวน 1 กล่อง
12. ไฟแช็ค จำนวน 1 อัน
13. กระบอกไฟฉายพร้อมถ่าน จำนวน 1 ชุด
14. ยาสามัญประจำบ้าน จำนวน 1 ชุด
15. ยาแก้น้ำกัดเท้า จำนวน 1 หลอด
16. เกลือไอโอดีน จำนวน 1 ถุง
17. ถุงขยะสีดำ ขนาดเล็ก จำนวน 1 แพ็ค (6 ใบ)
18. ถุงขยะสีดำ ขนาดใหญ่ จำนวน 1 แพ็ค (6 ใบ)
8. กองบัญชาการ กองทัพไทย
- สามารถไปบริจาคสิ่งของได้ที่ ศูนย์ราชการ แจ้งวัฒนะ (อาคาร 6) ตลอดเวลาราชการ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ หมายเลขโทรศัพท์ 02-575-1500
9. ศูนย์รับบริจาคเงิน-สิ่งของช่วยผู้ประสบอุทกภัยเนชั่น
- สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ หมายเลขโทรศัพท์ 02-338-3333 และ 02-338-3000 กด 3
- สามารถบริจาคเงินไปได้ที่ ธนาคารกสิกรไทย สาขาซีคอนสแควร์ บัญชีออมทรัพย์ ชื่อบัญชี "บมจ.เนชั่นมัลติมีเดีย กรุ๊ป เพื่อโครงการช่วยฟื้นฟูผู้ประสบภัยหลังน้ำท่วม" เลขที่บัญชี 095-2-71929-7
10. สถานีโทรทัศน์สีช่อง 3 + ครอบครัวข่าวช่อง 3
- สามารถไปบริจาคสิ่งของได้ที่ สถานีโทรทัศน์สี่ ช่อง 3 อาคารมาลีนนท์ ถนนพระราม 4 และสามารถช่วยบรรจุหีบห่อได้ที่หน้าอาคารได้เลย แผนที่คลิกที่นี่
- สามารถบริจาคเงินไปได้ที่ ธนาคารกรุงเทพ สาขาพระราม 4 อาคารมาลีนนท์ บัญชีกระแสรายวัน ชื่อบัญชี "ครอบครัวข่าว ช่วยผู้ประสบภัยน้ำท่วม53" เลขที่บัญชี 014-3-00368-9
- สามารถพิมพ์ข้อความ namjaithai แล้วส่ง sms ไปที่หมายเลข 4567899 ได้ทั้งเครือข่าย AIS, DTAC ครั้งละ 10 บาท
11. สถานีโทรทัศน์ กองทัพบก ช่อง 5
- สามารถไปบริจาคสิ่งของได้ที่ หน้าสถานีโทรทัศน์ กองทัพบก ช่อง 5 สนามเป้า แผนที่คลิกที่นี่
- สามารถบริจาคเงินไปได้ที่ ธนาคารทหารไทย สาขาสนามเป้า บัญชีออมทรัพย์ ชื่อบัญชี "กองทัพบก โดยททบ.ช่วยภัยน้ำท่วม" เลขที่บัญชี 021-2-69426-9
12. ศูนย์รับบริจาคช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วมใหญ่ที่โคราช รายการเช้าข่าวข้น+อสมท.
- สามารถไปบริจาคสิ่งของได้ที่ อาคารปฏิบัติการ ชั้น 1 ตึกอสมท. ถ.พระราม9 เช่น อาหารแห้ง, เรือ, ผ้าอนามัย, ไฟฉาย สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ หมายเลขโทรศัพท์ 02-201-6000 ที่อยู่ บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) 63/1 ถนนพระราม 9 เขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร 10320 แผนที่คลิกที่นี่
- สามารถบริจาคเงินไปได้ที่ ธนาคารกรุงไทย สาขาอโศก ชื่อบัญชี "อสมท ร่วมใจช่วยภัยน้ำท่วม" เลขที่บัญชี 015-0-12345-0 สอบถามได้ที่ หมายเลขโทรศัพท์ 02-245-0700-4
13. กรมประชาสัมพันธ์ ช่อง 11 NBT
- สื่อวิทยุและโทรทัศน์ เครือข่ายกรมประชาสัมพันธ์ทั่วประเทศ จะเป็นสื่อกลางรายงานสภาพอากาศ สถานการณ์อุทกภัย และเป็นจุดรับบริจาคช่วยเหลือผู้ประสบภัย ซึ่งจะเริ่มตั้งแต่เวลา 13.00 น. ในวันที่ 19 ตุลาคม 2553 ชื่อรายการ "ร่วมใจ ช่วยภัยน้ำท่วม" โดยยกเลิกผังรายการเดิมทั้งหมด
- สำหรับการรับบริจาคเครื่องอุปโภคบริโภคในพื้นที่กรุงเทพมหานคร สามารถไปบริจาคสิ่งของได้ที่ สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย ถนนวิภาวดี-รังสิต เขตดินแดง กรุงเทพมหานคร สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ หมายเลขโทรศัพท์ 02-275-2053 แผนที่คลิกที่นี่
14. สน.ประชาชน ทีวีไทย รับแจ้งข้อมูลน้ำท่วม และร่วมช่วยเหลือผู้ประสบภัย
- สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ หมายเลขโทรศัพท์ 02-791-1385-7, 02-791-1113 หรือ people@thaipbs.or.th สามารถไปบริจาคสิ่งของข้าวสารอาหารแห้ง, ข้าวของเครื่องใช้ ได้ที่ ตึกชินวัตร3 แผนที่คลิกที่นี่
- สามารถบริจาคเงินไปได้ที่ ธนาคารไทยพาณิชย์ บัญชีออมทรัพย์ ชื่อบัญชี "เพื่อนพึ่งภาช่วยน้ำท่วม" เลขที่บัญชี 020-2-69333-2
15. จส. 100
- สอบถามน้ำท่วมถ.มิตรภาพ ที่แขวงการทางต่าง ๆ ได้ที่ หมายเลขโทรศัพท์ 044-242-047 ต่อ 21, 044-212-200, 037-211-098, 036-461-422, 036-211-105 ต่อ24
16. มูลนิธิสยามกัมมาจล-ไทยพาณิชย์
- สามารถบริจาคเงินไปได้ที่ ธนาคารไทยพาณิชย์ บัญชีกระแสรายวัน ชื่อบัญชี "มูลนิธิสยามกัมมาจล-ไทยพาณิชย์เพื่อผู้ประสบภัย" บัญชีเลขที่บัญชี 111-3-90911-5 บริจาคผ่าน ATM / สาขา SCB ไม่เสียค่าโอน
17. ธนาคารออมสิน
- สามารถบริจาคเงินไปได้ที่ ธนาคารออมสิน สาขาสำนักพหลโยธิน บัญชีประเภทเผื่อเรียก ชื่อบัญชี "ออมสินรวมใจช่วยภัยน้ำท่วม" เลขที่บัญชี 0-2888888888-1 ตั้งแต่บัดนี้ ถึงวันที่ 15 พฤศจิกายน 2553 ยกเว้นค่าธรรมเนียมการโอนเงินเป็นกรณีพิเศษไว้แล้ว
18. โรงแรมดุสิตธานี
- สามารถไปบริจาคสิ่งของ ช่วยเหลือพี่น้องที่น้ำท่วม ได้ที่โรงแรมดุสิตธานี ในวันพุธที่ 20 ต.ค. ตั้งแต่เวลา 09.00-23.00 น.
19. มูลนิธิกลุ่มแสงเทียน
- รวบรวมสิ่งของบริจาค ช่วยเหลือพี่น้องที่น้ำท่วม สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ หมายเลขโทรศัพท์ 02-465-6165
20. การรถไฟแห่งประเทศไทย
- สอบถามการเดินรถไฟได้ที่ หมายเลขโทรศัพท์ 1690
21. ติดต่อหน่วยแพทย์ฉุกเฉิน
- ติดต่อหน่วยแพทย์ฉุกเฉินได้ที่ หมายเลขโทรศัพท์ 1669
22. บริษัทขนส่ง
- สอบถามการเดินรถได้ที่ หมายเลขโทรศัพท์ 1490
23. สถานีโทรทัศน์ กองทัพบก ช่อง 7
- สามารถไปบริจาคสิ่งของได้ที่ สถานีโทรทัศน์ กองทัพบก ช่อง 7 ซ.พหลโยธิน 18/1
- สามารถบริจาคเงินไปได้ที่ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา สาขาสำนักเพลินจิต ชื่อบัญชี "7 สีช่วยชาวบ้าน" เลขที่บัญชี 001-9-13247-1
24. มูลนิธิซีเมนต์ไทย
- สามารถบริจาคอาหาร ผ้าอนามัย กางเกงในกระดาษ กระดาษทิชชู ถุงขยะ เทียนไข และไฟแช็ค สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ หมายเลขโทรศัพท์ 02-586-3415
25. จุดรับบริจาคของคนเสื้อแดงกลุ่ม Red Cyber
- สามารถไปบริจาคสิ่งของได้ที่ อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ หน้าแฟชั่นมอลล์ (จอดรถข้างหน้าได้เลย) และบิ๊กซีลาดพร้าว ชั้น 5 ที่สถานีเอเชียอัพเดท
26. DTAC
- สามารถไปบริจาคสิ่งของได้ที่ DTAC อาคารจามจุรีแสควร์ ถึงวันศุกร์ที่ 23 ตุลาคม 2553
27. มูลนิธิกระจกเงา
- สามารถไปบริจาคข้าว สาร, อาหารแห้ง, น้ำดื่ม และยารักษาโรค ช่วยเหลือพี่-น้องผู้ประสบภัยน้ำท่วม ได้ที่ มูลนิธิกระจกเงา (สนง.กรุงเทพ) 8/12 ซ.วิภาวดี44 ถ.วิภาวดีรังสิต แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900 แผนที่คลิกที่นี่
- สามารถบริจาคเงินไปได้ที่ ธนาคารกรุงไทย สาขานานาเหนือ ชื่อบัญชี "มูลนิธิกระจกเงา" เลขที่บัญชี 000-0-01369-2 สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ หมายเลขโทรศัพท์ 087-274-9769 (เอ), 02-941-4194-5 ต่อ 102 (เอ,สุกี้)
28. กรมทางหลวง
- สายด่วนกรมทางหลวง หมายเลขโทรศัพท์ 1586 สอบถามข้อมูลน้ำท่วมได้ตลอด 24 ชั่วโมง
- สำนักงานประชาสัมพันธ์ กรมทางหลวง หมายเลขโทรศัพท์ 02-354-6530, 02-354 -6668-76 ต่อ 2014 ,2031
- ศูนย์บริหารงานอุบัติภัย สำนักบริหารบำรุงทาง หมายเลขโทรศัพท์ 02-354-6551
- ตำรวจทางหลวง หมายเลขโทรศัพท์ 1193
29 . องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ
- สายด่วน หมายเลขโทรศัพท์ 1490 เพื่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมในบริจาคสิ่งของ
30 . ศูนย์ กทม.
- ติดต่อขอความช่วยเหลือกรณีน้ำท่วมในเขตกรุงเทพฯ ได้ที่สายด่วน หมายเลขโทรศัพท์ 1555 และ 02-248-5115 ตลอด 24 ชั่วโมง
31. การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค
- สามารถไปบริจาคสิ่งของได้ที่ บริเวณห้องโถง ชั้น 1 อาคาร 4 สำนักงานใหญ่ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ หมายเลขโทรศัพท์ 02-590-9554, 02-590-9559 และ 02-950-9557
- สามารถบริจาคเงินไปได้ที่ ธนาคารกรุงไทย บัญชีออมทรัพย์ ชื่อบัญชี "ชาว กฟภ. รวมใจช่วยผู้ประสบภัย" เลขที่บัญชี 073-1-09891-9
32. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- สามารถไปบริจาคสิ่งของได้ที่ อาคารจามจุรี 9 ชั้น 1 ในวันพฤหัสบดีที่ 21 ถึง วันศุกร์ที่ 22 ตุลาคม 2553 ตั้งแต่เวลา 09.00 – 17.00 น.
33. สถานีโทรทัศน์ SpringNews
- สามารถบริจาคเงินไปได้ที่ ธนาคารกรุงเทพ สาขาถนนวิภาวดีรังสิต บัญชีออมทรัพย์ ชื่อบัญชี "ร่วมมือร่วมใจเพื่อผู้ประสบภัย" เลขที่บัญชี 196-0-75084-0
34.มูลนิธิ 1500 ไมล์
- สามารถบริจาคเงินไปได้ที่ ธนาคารกสิกรไทย สาขาเทสโก้ โลตัส ศาลายา บัญชีออมทรัพย์ ชื่อบัญชี "มูลนิธิ ๑๕๐๐ ไมล์" เลขที่บัญชี 991-2-01500-6
- สามารถร่วมเดินทางเข้าช่วยเหลือผู้เดือดร้อนในพื้นที่กับมูลนิธิ 1500 ไมล์ โดยการพายเรือคายัคเข้าพื้นที่ประมาณ 30 ลำ กำลังต้องการอาสาฯ ร่วมภารกิจ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ @1500miles สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ คุณนัท หมายเลขโทรศัพท์ 089-489-9116
35. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
- พร้อมช่วยเหลือน้ำดื่ม, รถหกล้อ, รถแทรกเตอร์, รถขุด-ตักดิน หากต้องการความช่วยเหลือ ให้ติดต่อแจ้งฝ่ายประชาสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารีได้ที่ หมายเลขโทรศัพท์ 044-224-081-5 ,044-224-000
36. สำนักผู้แทนการค้าไทย
- สามารถไปบริจาคสิ่งของได้ที่ ห้อง 204 ตึกบัญชาการ 1 ทำเนียบรัฐบาล สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ หมายเลขโทรศัพท์ 02-288-4000 ต่อ 4549, 4597 และ 4545
37. กระทรวงสาธารณสุข
- ติดต่อสายด่วน หมายเลขโทรศัพท์ 1323 และ 1667 รับปรึกษาปัญหาสุขภาพจิต
38. ไปรษณีย์ไทย
- สามารถไปบริจาคเงินช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม ได้ที่ไปรษณีย์ทุกแห่งทั่วประเทศ ตั้งแต่วันที่ 22 ตุลาคม 2553 เป็นต้นไป
39. พุทธมณฑล
- สามารถไปบริจาคสิ่งจำเป็นสำหรับพระภิกษุที่ประสบภัยน้ำท่วม ได้แก่ เครื่องอัฐบริขาร ได้ที่อาคารหอสมุด พุทธมณฑล
40. วุฒิสภา
- สามารถไปบริจาคสิ่งของได้ที่ ห้องโถง อาคารรัฐสภา 2 ถนนอู่ทองใน เขตดุสิต กรุงเทพฯ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์ประชาสัมพันธ์ วุฒิสภา หมายเลขโทรศัพท์ 02-244-1777-8 หรือสายด่วนวุฒิสภา หมายเลขโทรศัพท์ 1102
- สามารถบริจาคเงินไปได้ที่ ธนาคารกรุงไทย สาขาย่อยรัฐสภา บัญชีออมทรัพย์ ชื่อบัญชี "วุฒิสภารวมใจช่วยผู้ประสบภัยน้ำท่วม" เลขที่บัญชี 089-0-07706-1
41. โรงพยาบาลศิริราช
- สามารถไปบริจาคสิ่งของได้ที่ โถงอาคาร 100 ปี สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี โรงพยาบาลศิริราช ถนนพรานนก เขตบางกอกน้อย กรุงเทพฯ ตั้งแต่เวลา 09.00-16.00 น.
42. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- สามารถไปบริจาคสิ่งของได้ที่ ศูนย์อาสาสมัคร อาคารกิจกรรมนักศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ หมายเลขโทรศัพท์ 086-570-3693, 086-943-4988 และ 089-723-5235
43. มูลนิธิราชประชานุเคราะห์ ในพระบรมราชูปถัมภ์
- สามารถบริจาคเงินไปได้ที่ ธนาคารไทยพาณิชย์ สาขาสาขาย่อยสำนักพระราชวัง (สนามเสือป่า) บัญชีออมทรัพย์ ชื่อบัญชี "มูลนิธิราชประชานุเคราะห์ ในพระบรมราชูปถัมภ์" เลขที่บัญชี 401-6-36319-9
- สามารถบริจาคเงินไปได้ที่ ธนาคารทหารไทย สาขาสาขาย่อยสำนักพระราชวัง (สนามเสือป่า) บัญชีออมทรัพย์ ชื่อบัญชี "มูลนิธิราชประชานุเคราะห์ ในพระบรมราชูปถัมภ์" เลขที่บัญชี 046-2-44777-2
- สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ หมายเลขโทรศัพท์ 02-281-1902, 02-282-9596 หมายเลขโทรสาร 02-281-1423
44. รัฐบาลไทย
- สามารถบริจาคเงินไปได้ที่ ธนาคารกรุงไทย สาขาย่อยทำเนียบรัฐบาล บัญชีออมทรัพย์ ชื่อบัญชี "กองทุนเงินช่วยเหลือผู้ประสบสาธารณภัย สำนักนายกรัฐมนตรี" เลขที่บัญชี 067-0-06895-0 สามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ หมายเลขโทรศัพท์ 02-281-4130 หมายเลขโทรสาร 02-282-5296
45. ศูนย์ช่วยเหลือผู้ประสบสาธารณภัย (อุทกภัย) จังหวัดเชียงใหม่
- สามารถบริจาคเงินไปได้ที่ ธนาคารกรุงไทย สาขาข่วงสิงห์ บัญชีออมทรัพย์ ชื่อบัญชี "กองทุนเงินช่วยเหลือผู้ประสบสาธารณภัยจังหวัดเชียงใหม่" เลขที่บัญชี 547-0-37532-3 เปิดรับบริจาคตั้งแต่วันที่ 20 - 25 ต.ค. 2553
46. ซีพี ออลล์ร่วมกับกองทัพบก
- สามารถบริจาคเงินไปได้ที่ ร้านเซเว่น-อีเลเว่น ได้ตลอด 24 ชั่วโมง ทั่วประเทศ
47. ศูนย์รับบริจาคที่ศูนย์เยาวชนเทศบาลเมืองชัยภูมิ
- สามารถบริจาคได้ที่ศูนย์รับบริจาคที่ศูนย์เยาวชนเทศบาลเมืองชัยภูมิ
- ขณะนี้ความจำเป็นเร่งด่วน ชาวบ้านต้องการน้ำดื่ม เรือท้องแบน และอาหารสำเร็จรูป - สอบถามเพิ่มเติม หมายเลขโทรศัพท์ 044-821-333, 044-813-264, 044-811-898
48. ธนาคารเกียรตินาคิน
- สามารถเข้าไปโพสต์ข้อความเพื่อช่วยเหลือน้ำท่วมได้ที่ Facebook เกียรตินาคิน 1 ข้อความมีค่า 10 บาท ซึ่งธนาคารจะนำเงินทั้งหมดไปมอบให้สภากาชาดไทย เริ่มตั้งแต่วันนี้ - 31 ตุลาคม 53
49. สำนักข่าว INN
- สามารถบริจาคเงินไปได้ที่ ธนาคารไทยพาณิชย์ สาขาตลาดน้อย บัญชีออมทรัพย์ ชื่อบัญชี "กองทุนร่วมด้วยช่วยกัน เพื่อสาธารณประโยชน์ โดย บริษัท ไอ.เอ็น.เอ็น.เรดิโอ จำกัด" เลขบัญชี 013-2-81000-4
- สามารถไปบริจาคสิ่งของได้ที่ สำนักงาน DFM ร่วมด้วยช่วยกัน ซอยรามคำแหง 21 เขตวังทองหลาง กรุงเทพฯ
50. มูลนิธิศุภนิมิตแห่งประเทศไทย
- สามารถบริจาคเงินไปได้ที่ ธนาคารกรุงเทพ บัญชีออมทรัพย์ ชื่อบัญชี "มูลนิธิศุภนิมิตแห่งประเทศไทย" เลขบัญชี 206-0-43600-9 และแฟกซ์สำเนาการโอน พร้อมชื่อ ที่อยู่ของผู้บริจาคมาที่ หมายเลข 02-711-4100 ถึง 2
- สามารถไปบริจาคเงินได้ที่ เว็บไซต์มูลนิธิศุภนิมิต
- สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ หมายเลขโทรศัพท์ 02-281-1902, 02-282-9596 หมายเลขโทรสาร 02-281-1423
51. สำนักงานตำรวจแห่งชาติ
- สามารถบริจาคเงินไปได้ที่ ธนาคารกรุงไทย บัญชีออมทรัพย์ ชื่อบัญชี "ศูนย์ช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม สำนักงานตำรวจแห่งชาติ" เลขบัญชี 980-2-98056-0
52. กระทรวงพลังงาน
- สามารถบริจาคเงินไปได้ที่ ธนาคารกรุงไทย สาขามหานาค บัญชีออมทรัพย์ ชื่อบัญชี "ช่วยผู้ประสบภัย กระทรวงพลังงาน" เลขบัญชี 156-0-04953-7
53. มหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย
- สามารถบริจาคเงินไปได้ที่ ธนาคารทหารไทย บัญชีออมทรัพย์ ชื่อบัญชี "มหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย" เลขบัญชี 002-2-77762-7
54. มหาวิทยาลัยมหิดล
- สามารถบริจาคของไปได้ที่ จุดบริจาคที่ลานวัฒนธรรม MU Corner ม.มหิดล ศาลายา
- สามารถบริจาคเงินไปได้ที่ ธนาคารไทยพาณิชย์ สาขา ม.มหิดล ชื่อบัญชี "มหิดลร่วมใจช่วยภัยน้ำท่วม" เลขที่บัญชี 333-2-33585-2
55. สมาคมสันนิบาตเทศบาลแห่งประเทศไทย(ส.ท.ท.)
- สามารถบริจาคเงินไปได้ที่ ธนาคารกรุงไทย สาขาศาลายา ชื่อบัญชี "สมาคมสันนิบาตเทศบาลแห่งประเทศไทย (ร่วมบริจาคภัยน้ำท่วม)" เลขบัญชี 459-0-29600-4
- สามารถไปบริจาคสิ่งของได้ที่ สมาคมสันนิบาตเทศบาลแห่งประเทศไทย 12/8 ถ.บรมราชชนนี แขวงฉิมพลี เขตตลิ่งชัน กทม. 10170
- สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ หมายเลขโทรศัพท์ 02-448-5645
56. 3 องค์กรแรงงาน
- สามารถบริจาคเงินไปได้ที่ ธนาคารกรุงเทพ บัญชีสะสมทรัพย์ ชื่อบัญชี "มูลนิธิพิพิธภัณฑ์แรงงานไทย" เลขบัญชี 101-7-97864-2