3G ในไทยมีกี่แบบ กี่คลื่น กี่ความถี่กันแน่ แบบง่ายสุดๆ จ้า :D
3G ในไทยและในโลกนั้นมีหลายคลื่นหลายความถี่ ~ ผมไปอ่านที่ไหนๆ ก็มักจะเขียนแบบยากๆ และงงๆ ด้วยศัพท์ Technical Term เยอะๆ [ผมว่าคนเขียนบางทีก็ Copy & แปลมา ไม่เข้าใจเหมือนกัน
ปัญหาคือตอนนี้มือถือราคาสัก 8xxx Up มันรองรับ 3G หมด ซื้อเผื่อๆ ไว้
แต่ในไทยเรามี 3G เปิดกันบน 3 คลื่นความถี่ครับ ถ้ามือถือเราดันซื้อมาแพงแต่ไม่รองรับ…
เกิดกลางปี ระบบ 3G เกิดจริงๆ ก็เท่ากับมือถือเราจะใช้ 3G ไม่ได้เลยนะ :’)
สรุปในไทยตอนนี้มี 3 ความถี่ครับผม ~
1. AIS ใช้ความถี่ 900 MHz
2. True & DTAC ใช้ความถี่ 850 MHz
3. TOT [และเพื่อนๆ ได้แก่ i - Mobile 3GX / 365 3G / Mojo 3G / IEC 3G / i - Kool 3G] ใช้คลื่นความถี่เดียวกันคือ 2100 MHz ซึ่งเป็นคลื่นของ TOT3G ครับ ดังนั้น… ทุกอันในหัวข้อนี้เร็วเท่ากัน ล่มก็ล่มพร้อมกัน :P
ในอนาคต ทุกระบบอาจจะเข้ามาใช้คลื่นเดียวกันคือ 2100 MHz [?] ละมั้ง ซึ่งไม่รู้ครับ… เพราะ 3G ในไทยมันยังเป็นวุ้นๆ เด้งไปก็เด้งมา ~ แต่จุดนึงที่สังเกตได้คือมือถือ 3G ส่วนใหญ่จะรองรับคลื่นแบบ 2100 MHz
เช่น… HTC HD7 ของผมมันรองรับ 3G แบบ 900 / 2100
จึงใช้ได้กับกับ AIS 3G & TOT3G [และเพื่อนๆ] ซึ่งตลก,… เพราะ HD7 นั้น DTAC เป็นคนทำตลาด o_O!
เวลาดูว่าความถี่ 3G ของมือถือเราเป็นคลื่นเท่าไร ให้ดูตรงคำว่า 3G [หรือถ้าไม่มีก็ดูคำว่า WCDMA ไม่ก็ HSPA หรือ HSDPA] ในภาพจะเห็นว่า HD7 เป็นแบบ 900 / 2100 จริงๆ ด้วย จึงใช้ True 3G ที่เป็น 850 MHz ไม่ได้ :)
ง่ายๆ เท่านี้เองครับ
ส่วน 3G แบบ CDMA [Hutch & CAT] นั้นไม่เขียนถึงให้งง เพราะต้องใช้อุปกรณ์ของเค้าเองเท่านั้น
จริงๆ ถ้าจะดูให้ลึกลงไปอีก… มันจะมีแบ่ง Klasse ความเร็วด้วยตัวเลข MBPS ครับ เช่น HD7 นั้นรองรับความเร็ว 3G สูงสุดที่ 7.2 MBPS ต่อให้เครือข่ายปล่อยความเร็วสูงกว่านั้น, 14.4 MBPS มา เราก็เร็วเต็มที่ได้แค่ 7.2 MBPS
เรียกง่ายๆ ว่า HD7 โดน Lock ความเร็วที่ 7.2 MBPS เหมือนรถโดนล็อคที่ 200 kmph นั่นเอง :P
แต่ผมใช้ 3G ในไทยยังไงก็ไม่เคยเกิน 5 – 6 MBPS อยู่ดีนั่นละ – -
TOT3G Speedtest @ Melt Me ทองหล่อ ~
แต่ Coverage ของ 3G แต่ละระบบในกรุงเทพฯ เองมันก็ยังไม่นิ่งเท่าไร ผมใช้ 365 3G ถือว่าเยี่ยมมากๆ เวลาอยู่บนสุขุมวิท ทองหล่อ เอกมัย สีลม ซึ่ง Ok, เพราะเป็นที่ๆ ผมใช้ชีวิตครับ :D
แต่ถ้าออกไปไกลเมือง อาจจะดับสนิท… ส่วน AIS & DTAC นั้นยังแค่เปิดทดสอบมากกว่าทำตลาดจริง
ใครสน 3G แบบไหนต้องลองถามจากคนที่ใช้อยู่เลยจะดีกว่า เรื่อง Coverage น่ะครับ – -v
ความถี่ 3g true ais dtac tot กับการเลือกซื้อโทรศัพท์ตามมาตรฐาน 3g ไทย
ความจริงเทคโนโลยี 3 G ใช่ว่าจะเป็นเทคโนโลยีใหม่เสียทีเดียว เพราะในประเทศญี่ปุ่นเขาใช้กันมานานกว่า 10 ปีแล้ว แต่สำหรับในประเทศไทยไม่ได้ทำกันง่ายๆ เพราะระบบเดิมที่ให้บริการมานานยังเป็นเทคโนโลยี 2 G อยู่ การจะอัพเกรดให้เป็นระบบ 3 G จึงต้องใช้เงินลงทุนมหาศาล อีกทั้งยังต้องมีใบอนุญาตให้ทำ 3 G บนย่านความถี่ที่ต้องจัดสรรกันใหม่ ซึ่งจะเปิดให้มีการประมูลโดย กสทช. ช่วงประมาณปี พ.ศ.2555 แต่ดูเหมือนว่าเวลาจะกระชั้นชิดมากเกินไปเมื่อคิดในแง่มุมของผู้ให้บริการ เนื่องจากอายุสัมปทานเดิมใกล้จะหมดลงแล้ว ทุกค่ายโทรศัพท์จึงต้องใช้ความถี่ที่ตนมีอยู่เช่น 850, 900 และ 1900 MHz เปิดทดสอบให้บริการระบบ 3G ในช่วงแรก ก่อนที่จะเปิดให้มีการประมูลใบอนุญาต 3 G โดย กสทช. ครั้นเมื่อถึงเวลานั้นย่านความถี่ระบบ 3 G ก็เชื่อว่าจะเป็นไปในทิศทางเดียวกัน โดยความถี่ที่คาดว่าจะนำมาใช้กับระบบ 3 G น่าจะเป็นช่วงความถี่ 2100 MHz ซึ่งเป็นช่วงความถี่ที่เครื่องโทรศัพท์มือถือในปัจจุบันรองรับอยู่แล้ว ผู้ใช้ก็ไม่จำเป็นต้องไปคิดอะไรเลย
วิธีเลือกซื้อโทรศัพท์มือถือให้ตรงกับความถี่และมาตรฐาน 3g ในไทย
ปัญหาที่เกิดขึ้นในช่วงเปลี่ยนถ่ายเทคโนโลยีในปัจจุบันก็คือ ผู้ใช้โทรศัพท์มือถือจะเลือกซื้อโทรศัพท์มือถืออย่างไรให้รองรับความถี่ 3G ได้ทุกเครือข่าย เพราะหลายคนก็ไม่แน่ใจว่าจะต้องเลือกซื้อสเปคอย่างไรหรือมีวิธีการดูอย่างไร วิธีการง่ายๆก็คือ ให้ดูที่มาตรฐานของเทคโนโลยี 3 G ซึ่งมีอยู่ด้วยกัน 2 ไลน์หรือ 2 ฝั่ง แต่สำหรับมาตรฐานเทคโนโลยี 3G ที่จะใช้ในประเทศไทยเป็นที่แน่นอนแล้วว่า จะใช้มาตรฐาน UMTS หรือ WCDMA เป็นหลัก เนื่องจากเป็นระบบที่นิยมใช้กันทั่วโลก ซึ่งผู้เชี่ยวชาญเชื่อว่ามีอนาคตที่ดีกว่ามาตรฐาน CDMA จากประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อผู้ใช้โทรศัพท์มือถือจะซื้อเครื่องโทรศัพท์ก็ให้ดูที่สเปคที่เขาเขียน ว่า UMTS หรือ WCDMA ซึ่งมีย่านความถี่ที่รองรับ 3 G บอกไว้ ตัวอย่างเช่น WCDMA 850/900/1700/1900/2100 MHz ซึ่งเป็นย่านความถี่ที่รองรับระบบ 3 G ได้ทุกเครือข่าย จากเดิมที่รองรับระบบ GSM ในย่าน Quadband หรือ Triband อยู่แล้ว เช่น Quadband : GSM 850/900/1800/1900 MHz จึงทำให้โทรศัพท์มือถือในปัจจุบันมี 2 โมด
เมื่อผู้ใช้โทรศัพท์มือถือจะเลือกซื้อโทรศัพท์ต้องตรวจเช็คย่านความ ถี่ให้ดี เพราะในช่วงรอประมูล 3G นี้ โทรศัพท์มือถือรุ่นเดียวกันมีการแยกรหัสไว้เป็น 2 ชุด คือกลุ่มชุดความถี่ 850/2100 MHz และกลุ่มชุด 900/1900/2100 MHz เมื่อนำความถี่มาเขียนรวมกันจะได้เป็น 850/900/1900/2100 MHz ทำให้ดูเหมือนว่าซื้อโทรศัพท์รุ่นนี้แล้วคุ้มค่า รองรับ 3G ได้ทุกเครือข่ายทั้งของ AIS True DTAC และ TOT แต่เปล่าเลยบางเครือข่ายได้แค่ Edge (2.75G) เท่านั้น อันที่จริงโทรศัพท์มือถือที่รองรับ 3G ได้ทุกเครือข่ายก็ใช่ว่าจะไม่มี แต่ทว่าราคาค่อนข้างแพงหรือแพงมาก ดังนั้นเพื่อให้ผู้อ่านเข้าใจได้ง่าย นีดฟอร์เมนดอทคอมได้ ทำตารางความถี่ระบบ 3 G ของค่ายโทรศัพท์มือถือไว้แล้ว ซึ่งผู้ซื้อสามารถดูความถี่ของโทรศัพท์มือถือเปรียบเทียบให้ตรงกับย่านความ ถี่ 3 G ของค่ายโทรศัพท์ต่างๆ ได้ดังนี้
ความถี่ระบบ 3 G ของค่ายโทรศัพท์มือถือในไทย
เครือข่าย |
2 G |
2.5G - 2.75G |
ความถี่เดิม (MHz)1 |
มาตรฐานเทคโนโลยี |
มาตรฐานเทคโนโลยี |
AIS |
GSM |
GPRS/EDGE |
900/1800 MHz |
dtac |
GSM |
GPRS/EDGE |
850/1800 MHz |
True |
GSM |
GPRS/EDGE |
1800 MHz |
hutch |
CDMA |
CDMA2000 1xRTT |
800 MHz |
cat |
CDMA/GSM |
CDMA2000 1xRTT |
800/850/1800 MHz |
tot |
GSM |
GPRS/EDGE |
900/1900 MHz |
หมายเหตุ |
|
|
|
เครือข่าย |
3 G |
3.5G - 3.75G |
ความถี่ (ก่อนประมูล 3จี) |
มาตรฐานเทคโนโลยี |
มาตรฐานเทคโนโลยี |
AIS |
UMTS/ WCDMA |
HSPA(hsdpa) / HSPA+ |
900 MHz |
dtac |
UMTS/ WCDMA |
HSPA(hsdpa) / HSPA+ |
850 MHz |
True |
UMTS/ WCDMA |
HSPA(hsdpa) / HSPA+ |
850 MHz2 |
CDMA2000 1xEV-DO |
800 MHz |
cat |
CDMA2000 1xEV-DO |
|
800/850 MHz |
tot |
UMTS/ WCDMA |
HSPA(hsdpa) / HSPA+ |
1900/2100 MHz |
หมายเหตุ |
|
Flash-OFDM |
|
เครือข่าย |
3.9 G |
4 G |
ความถี่ (MHz) |
มาตรฐานเทคโนโลยี |
มาตรฐานเทคโนโลยี |
1 |
LTE (E-UTRA) |
LTE Advanced |
2100 MHz |
2 |
LTE (E-UTRA) |
LTE Advanced |
2100 MHz |
3 |
LTE (E-UTRA) |
LTE Advanced |
2100 MHz |
4 |
LTE (E-UTRA) |
LTE Advanced |
2100 MHz |
5 |
LTE (E-UTRA) |
LTE Advanced |
2100 MHz |
หมายเหตุ |
WiMAX (IEEE 802.16e-2005), (IEEE 802.16m) |
|
จากตารางความถี่ 3 G ของค่ายโทรศัพท์มือถือในไทย จะสังเกตเห็นว่าในช่องลำดับต่อมาของแบรนด์ชื่อดังอย่าง Hutch ที่ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ในไทยมานาน ครั้นถึงต้นปี พ.ศ.2554 บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ก็ได้เข้าไปซื้อหุ้นของฮัทช์มูลค่าประมาณ 6300 ล้านบาท ซึ่ง deal ครั้งนี้ทำให้ทรูได้รับสิทธิ์ใช้คลื่นความถี่จาก กสท เพิ่มขึ้นอีกราว 15 ปี จากเดิมที่อายุสัมปทานของ True จะสิ้นสุดลงในปี พ.ศ.2556 จริงอยู่การที่ทรูเข้าไปซื้อหุ้นของฮัทช์ในครั้งนี้เป็นข่าวที่ต้องตรวจสอบ ความจริง อาจไม่เกี่ยวอะไรกับประเด็นที่ตั้งไว้แต่แรก เพราะการเลือกซื้อโทรศัพท์มือถือให้รองรับย่านความถี่ 3 g ของทุกเครือข่ายตามมาตรฐาน 3 G ในไทย ผู้อ่านสามารถดูเปรียบเทียบได้จากตารางข้างบนนี้
อย่างไรก็ตาม เรื่องมาตรฐานเทคโนโลยีการสื่อสารไร้สาย และย่านความถี่ 3 G ที่จะนำมาใช้กับระบบของค่ายโทรศัพท์มือถือในประเทศไทย ย่อมขึ้นอยู่กับผู้ประกอบการเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่แต่ละรายเอง เนื่องจากเป็นเรื่องที่ละเอียดสลับซับซ้อน มีความเป็นมายาวนาน และเกี่ยวข้องกับกฎหมายต่างๆ ผู้อ่านโปรดตรวจสอบข้อมูลความถูกต้องจากผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่แต่ ละรายอีกครั้ง
บทความโดย : www.hothitphone.com